เปลี่ยนภาษา: English
เรียนที่ SCI-TU
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 45 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต
1. วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ 26 หน่วยกิต
2.2 วิชาบังคับ 61 หน่วยกิต
2.3 วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
2.4 ประสบการณ์ภาคสนาม 1 หน่วยกิต
3. วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
- ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
อีกหนึ่งสาขาที่โดดเด่นของคณะวิทย์ฯ มธ. ปัจจุบันมีการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์
สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ มลพิษทางอากาศ เสียง และ
ความสั่นสะเทือน การจัดการขยะ การจัดการสารพิษ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางภูมิศาสตร์ หากเรียนจบสามารถทำงานด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้าน บอกเลยว่ามีงานของทั้งภาครัฐและเอกชนรองรับแน่นอน เพราะปัจจุบันประเทศไทยขาดบุคลากรและนักวิเคราะห์วิจัยด้าน
สิ่งแวดล้อมจำนวนมาก
คำอธิบายหลักสูตร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
เป็นหลักสูตรที่เปิดทำการสอนเต็มเวลา ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา โดย 1 ภาคการศึกษาจะมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
ซึ่งจะมีวิชาเฉพาะด้าน เป็นกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และยังมีวิชาบังคับ เป็นกลุ่มวิชาพื้นฐานสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับ นิเวศวิทยา ทะเล ดิน ป่าไม้ มลพิษ อากาศ เสียง น้ำเสีย ขยะ กากอุตสาหกรรม
- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การประเมินความเสี่ยง เทคนิคการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กฎหมายสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับ การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและศิลปกรรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการภัยพิบัติ
- และกลุ่มวิชาการวิจัยและจริยธรรม เรียนเกี่ยวกับ ระเบียบวิธีวิจัย ประเด็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อม การฝึกภาคสนาม โครงงานพิเศษ
อีกทั้งยังมีวิชาเลือกเฉพาะด้านต่างๆ รวมไปถึงวิชาประสบการณ์ภาคสนาม
สาขามุ่งน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมและจริยธรรมที่สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัย และสนองต่อการพัฒนาประเทศ โดยบัณฑิตจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเหตุผล คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและเป็นคนดีของสังคม มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รองรับนโยบายและสอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งยังขาดบุคลากรและนักวิเคราะห์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีความรู้ความสามารถที่จะสามารถทำงานในภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายบัณฑิตต้องมีความรู้ความสามารถ ความชำนาญในสายวิชาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถนำความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาการอื่นๆ ได้
นอกจากนี้พรมแดนความรู้ระหว่างศาสตร์ต่างๆ ที่ค่อยๆ คลายความสำคัญลงทำให้การศึกษาไร้พรมแดนมากขึ้น ดังเช่นมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรู้ข้ามศาสตร์มากขึ้น และให้ความสำคัญกับความเป็นคณะวิชาน้อยลง ดังนั้นเพื่อตอบสนองการศึกษาในศตวรรษที่ 21
หลักสูตรจึงได้มีการพัฒนาวิชาเลือกที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษาที่มีความต้องการศึกษาในองค์ความรู้ต่างๆ จากคณะวิชาอื่น ได้มีโอกาสเกิดการเรียนรู้ข้ามสาขามากยิ่งขึ้น
การฝึกงานหรือสหกิจ
นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- นักวิชาการสิ่งแวดล้อม หรืออาจารย์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
- นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
- พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ประกอบการธุรกิจส่วนตัว
- ลูกจ้างตามสถานประกอบการ เช่น ผู้แทนขายอุปกรณ์และสารเคมีทางด้านวิทยาศาสตร์
- อาชีพอิสระ
“รักษ์สิ่งแวดล้อม วิชาการพร้อมปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหารัฐและประชา“