Change Language:  ภาษาไทย

หน้ากากอนามัย ช่วยสะท้อนน้ำ – ไม่ดูดซับความชื้น

“COOL TO TOUCH” บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนโลก คว้า GOLD PRIZE นวัตกรรมนานาชาติ 2019

ผงปรุงรสล็อบสเตอร์ ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากเศษเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์

ดู Featured Stories ทั้งหมด

ผงปรุงรสล็อบสเตอร์ ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากเศษเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์

ผงปรุงรสพรีเมียมเกรด แคลเซียมสูง โซเดียมต่ำ และแอสตาแซนทิน สารสกัดสีแดงช่วยออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของ ร่างกาย รางวัลเหรียญทอง เวทีประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ (SIIF 2019) ณ กรุงโซล เกาหลีใต้

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

กุ้งล็อบสเตอร์แต่ละตัวมีสัดส่วนเนื้อแค่ 30% ที่เหลือ 70% เป็นเปลือก น.ส.มณทิรา เจริญวัลย์ น.ศ. หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร และดร.สุธีรา วัฒนกุล ที่ปรึกษาโครงการอาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงศึกษาข้อมูลว่าสามารถนำเปลือกกุ้งไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

จากการศึกษาพบว่าในเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์มีสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารสีแดงกลุ่มคาโรเทนอยด์ที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ สารชนิดนี้มักพบในสาหร่ายน้ำลึก ในเนื้อปลาแซลมอน ปลาเทราต์ และภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและอาหารเสริม มีการสั่งนำเข้าสารแอสตาแซนธินมาใช้ในราคา กก.ละ 14,000 บาท  มีประโยชน์ช่วยอาหารไม่ย่อย ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ควบคุมอาการจากภาวะหมดประจำเดือน ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การป้องกันมะเร็งและใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดสมอง คอเลสเตอรอล โรคตับ โรคทางตา

 

ทีมนักวิจัยจึงได้แปรรูปเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์มาเป็นผงปรุงรส อูมามิ โดยเริ่มจากนำเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์ อบแห้งด้วยความร้อนไม่เกิน 40 ํC เพื่อสกัดสารแอสตาแซนธินเข้มข้น ใช้เวลาอบ 24 ชม. จากนั้นนำมาบดเป็นผงละเอียด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ เปลือกกุ้ง 1 กก.จะได้สารแอสตาแซนธิน 5,000 ppm จากนั้นนำเปลือกกุ้งอีกส่วนมาทำความสะอาด นำไปอบเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมแล้วบดละเอียด ใส่สาหร่ายคอมบุ ทำให้รสอาหารกลมกล่อม โดยไม่ต้องพึ่งผงชูรส จะได้อูมามิจากเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์ที่แคลเซียมสูง โปรตีนสูง โซเดียมต่ำ

นวัตกรรม Lobster-Xanthin นี้สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองจากเวทีประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “Seoul International Invention Fair 2019” (SIIF 2019) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาห

“ทุกวันนี้บรรจุภัณฑ์จากโฟมมักถูกผลิตขึ้นจากพลาสติก ที่นิยมที่สุดคือพอลิสไตรีนที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้ว หากนำไปใช้กับอาหารที่มีความร้อนสูง ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย” ผศ.ดร.ชิราวุฒิ กล่าว

ผศ.ดร.ชิราวุฒิ อธิบายต่อว่า โฟมโดยทั่วไปหากถูกความร้อนมากจะทำให้เสียรูปทรงและหลอมละลาย ซึ่งจะมีสารที่เป็นอันตรายแตกตัวออกมาและปนเปื้อนกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสารสไตรีน หรือแม้แต่เบนซิน

ดังนั้น การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาการผลิตโฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบที่ผลิตได้จากพอลิเมอร์ชีวภาพ ด้วยการเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสดัดแปรเพื่อเพิ่มสมบัติเชิงกล สมบัติเชิงความร้อน เพื่อนำมาประยุกต์เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย

สำหรับ “Cool to Touch” ปัจจุบัน ผศ.ดร.ชิราวุฒิ และ อาจารย์สุวรา วรวงศากุล อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประดิษฐ์ ได้โอนสิทธิอนุสิทธิบัตรให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้นวัตกรรมชิ้นนี้ได้มีส่วนรับใช้สังคมต่อไป

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการให้บริการวิชาการตามวิสัยทัศน์ Marketplace of Solutions ที่พร้อมจะสนับสนุนรัฐบาลและภาคเอกชน เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตอบโจทย์ Green Trend และ Thailand 4.0 อย่างแท้จริง